วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ควบคุมการเทรด

ควบคุมการเทรด       

ต้องบอกก่อนเลยว่าการเทรดไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องที่ใครก็ได้จะเข้ามาโดยไม่ศึกษาอะไรมาก่อนเลยแล้วจะมาดึงเงินออกจากตลาดนี้ การเป็นเทรดเดอร์ต้องมีความพยายามและความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเป็น โดยเทรดเดอร์ต้องเผชิญกับโลกแห่งเกมส์การเงินที่คนธรรมดานั้นอาจต่อสู้ไม่ได้ การเคลื่อนไหวของตลาดจะเป็นตัวฉุดลากอารมณ์ของเทรดเดอร์ และสามารถนำพาไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
สิ่งเดียวที่จะสามารถทำให้เทรดเดอร์ไม่ตกอยู่ในอารมณ์ของตลาดคือ เทรดเดอร์ต้องวางแผนก่อนการเทรด เพื่อที่จะรับมือกับที่ไม่คาดคิดในอนาคตที่จะเกิดขึ้น โดยเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสามารถจัดการสิ่งต่างๆในปัจจุบันเพื่อรับมือกับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น

#Trading Plan : การเขียนแผนการเทรดจะเป็นตัวชี้ทางในการเทรดของเราว่าจะไปในทิศทางไหน ทำให้การเทรดไม่สะเปะสะปะ สร้างวินัยในการเทรดของเทรดเดอร์ได้อย่างดียิ่ง และช่วยให้หลีกเลี่ยงการตัดสินใจการผิดพลาดได้เนื่องจากมีการเตรียมตัวการก่อนเทรด
สิ่งที่ระบุใน Trading Plan
- ข้อมูลทั่วไป เช่น วันที่จะเทรด , เครื่องมือที่ใช้ , Setups ต่างๆ
- พฤติกรรมราคาของสินค้าที่สนใจ
- เงื่อนไขในการเข้า / ออก
- สรุปผลการเทรด
#Watch list จะคล้ายๆ Trading plan แต่จะลงรายละเอียดของสินค้าแต่ละตัวที่จะเทรดนั้นว่าตอนนี้พร้อมที่จะเข้าเทรดหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราพลาดการเทรดดังกล่าว
สิ่งที่ระบุใน Watch list
- รายชื่อสินค้าที่สนใจ พร้อมกับระบุว่า ระดับที่พร้อมจะเข้าเทรดว่าอยู่ในระดับใด
#Check list : เหมือนกับนักบินที่ก่อนจะนำเครื่องบินบินขึ้น ต้องตรวจสอบ Check list ก่อนทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบดูว่าเครื่องบินนั้นพร้อมที่จะบินหรือเปล่า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการบินนั้นจะปลอดภัย และไม่มองข้ามจุดเล็กๆน้อยๆ
สิ่งที่ระบุใน Check list
- สิ่งที่จะเทรดครบเงื่อนไขของเราหรือไม่
- สิ่งที่จะเทรดอยู่ในแผนของเราหรือไม่
- มีประกาศอะไรสำคัญหรือไม่
- Risk reward ratio เหมาะหรือไม่
- รู้สึกกังวลกับการเทรดครั้งนี้หรือไม่
- รับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่
#Emotions sheet : ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวทำให้เทรดเดอร์พ่ายแพ้กับการเทรดก็คือ “อารมณ์” เทรดเดอร์หลายคนมีวิธีการเทรดที่ดี แต่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในการเทรดได้ สุดท้ายทำให้พ่ายแพ้ต่อการเทรด การรู้ว่าอารมณ์ตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ผิดพลาดออกไปได้
สิ่งที่ระบุใน Emotions sheet
- การตัดสินใจที่เกิดขึ้น พร้อมกับอารมณ์ ณ ขณะนั้น และวิธีแก้ไข
ข้อผิดพลาดในการเทรดภาวะอารมณ์วิธีการแก้ไข
ไม่เปิดออเดอร์ แม้จะเข้าเงื่อนไขของสัญญาทั้งหมดกลัวทำ Checklist ให้ชัดเจน , ลด Size การเทรดให้น้อยลง
ปิดทำกำไรเร็วเกินไป โดยไม่มีเหตุผลกลัว , โลภปิดการโชว์กำไรขาดทุน , เชื่อมั่นในแผนการที่วางไว้
ขยาย Stoploss หรือ ไม่ตัดขาดทุนกลัว , หวังปิดกราฟหลังจากที่เปิดออเดอร์ , ไม่ดูกำไรขาดทุน
ลืมดูข่าวหรือประกาศสำคัญขาดความระมัดวัง , เบื่อตรวจสอบปฏิทินข่าวก่อนเทรดทุกครั้ง
สั่งคำสั่งผิด เช่น ซื้อเป็นขาย หรือ ขนาดออเดอร์ผิด เป็นต้นขาดความระมัดวัง , เบื่ออย่าทำอย่างอื่นขณะเทรด , ทบทวนคำสั่งก่อนเทรดอย่างน้อย 1 รอบ
ให้น้ำหนักการเทรดต่อ 1 ออเดอร์มากเกินไปโลภจัดการความเสี่ยงให้เป็นระบบมาตรฐานให้ชัดเจนไปเลย
ขยายจุดทำกำไรออกไป เนื่องจากคิดว่าราคาจะไปต่อโลภปิดกราฟหลังจากที่เปิดออเดอร์ , ไม่ดูกำไรขาดทุน
เข้าเทรดเร็วเกินไป โดยที่ยังไม่ครบเงื่อนไขโลภ , หวังทำ Checklist ไว้ย้ำเตือน
รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพื่อหวังไม้ที่ขาดทุนจะกลับมากำไรหวังจัดการความเสี่ยงให้เป็นระบบมาตรฐานให้ชัดเจนไปเลย
#Math Sheet : การเทรดเกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักคณิตศาสตร์ เพราะต้องมีการคำนวณกำไร/ขายทุน อีกทั้งความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เทรดเดอร์ทุกคนควรตระหนักถึงเรื่องนี้ เพราะจะได้ทราบว่าคุณควรจะเปิดขนาดออเดอร์เท่าไร่ถึงจะเหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ หรือโอกาสที่จะชนะหรือแพ้ติดต่อกันนั้นเป็นเท่าไร่ เพื่อบริหารพอร์ตการลงทุนของคุณให้อยู่รอดได้
สิ่งที่ระบุใน Math Sheet
- Risk reward ratio
- Drawdown / recovery rate
- ค่าความคาดหวัง
- โอกาสการชนะ/แพ้ ติดต่อกัน


ทีมงาน : forexinvestingthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น