วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การเทรด Bull trap

การเทรด Bull trap

ช่วงที่ราคา Breakout ทำ New High เทรดเดอร์มักเปิด Long ตาม แต่หลังจากที่เทรดเดอร์เปิด Long นั้น ราคากลับวกตัวกลับลงมาอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นบ่อยๆ เรียกกันว่า “Bull trap” ซึ่ง Bull trap มักเกิดในช่วงที่ราคา เหมือนจะ ไปต่อ  ทำให้พวกเทรดเดอร์มือใหม่มักเปิดสถานะในช่วงนั้น และมักตามมาด้วยการขึ้นต่อเพียงเล็กน้อย แล้วค่อยลงหนักๆ

เบื้องหลังของ Bull trap
1) เริ่มจากในช่วงแนวโน้มขาขึ้น คนที่ยังไม่มีของ เริ่มอยากเข้ามามีส่วนร่วม
2) เมื่อราคากำลังปรับตัวขึ้น ดึงดูดให้เทรดเดอร์เข้ามีเปิด Position
3) เมื่อราคาทะลุขึ้นทำ High ใหม่ เป็นตัวสร้างความมั่นใจให้เทรดเดอร์ว่ามาถูกทาง และรู้สึกปลอดภัย ซึ่งจุดนี้แหละที่เป็น “กับดัก”
4) ราคาวกกลับลงมา เทรดเดอร์ส่วนมากถือออเดอร์นั้นไว้และคิดว่าเดี๋ยวมันก็กลับขึ้นไป
5) ราคายังคงอ่อนตัวลงต่อ ทำให้เทรดเดอร์ที่เปิด Long ก่อนหน้านี้ประสบกับการขาดทุนอย่างมาก

2 สิ่งสำคัญที่จะป้องกันเหตุการณ์นี้ได้คือ
  1. เข้าช้าหน่อย : หลักการนี้อาจยากที่จะเข้าใจหน่อย จะลองทำดูแล้วจะเห็นความแตกต่างอย่างมาก โดยไม่ควรขายเมื่อราคากำลังขึ้น และไม่ซื้อเมื่อราคากำลังลง ควรขายเมื่อราคาลงแล้ว และซื้อเมื่อราคาขึ้นแล้วเท่านั้น

มีการเข้าอยู่ 3 ลักษณะ
1.1 เร็วเกินไป : คาดการณ์ มโนไปเองว่าตลาดจะไปในทิศทางที่เราคิด
1.2 พอดี : มีสัญญาณยืนยันว่าราคากลับตัวแล้ว
1.3 ช้าเกินไป : ราคามักเคลื่อนไหวไปมากแล้ว ค่อยมาเข้า
  1. รอสัญญาณยืนยัน : สัญญาณที่จะเป็นตัวช่วยยืนยันในการกลับตัวจริงๆ อย่างง่ายคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย โดยทั่วไปนิยมใช้ เส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน เป็นตัวแทนในการยืนยันทิศทาง คือคุณจะเทรด Bull trap ก็ต่อเมื่อราคาลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 วันก่อน

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตำนวนเทรดเดอร์ - Jesse Livermore

ตำนวนเทรดเดอร์ - Jesse Livermore

เทรดเดอร์ที่ชื่อเสียงโด่งดังอันดับต้นๆของโลก Jesse Livermore ผู้เขียนหนังสือ Reminiscences of a stock operator ที่ได้กล่าวถึงชีวิตอันสุดโต่งของชีวิตของเขาในอาชีพเทรดเดอร์ ที่สามารถเสกเงินหลายล้านดอลลาร์ และกลับไปหมดตัว แล้วก็กลับขึ้นมาได้ใหม่ ในหลายครั้งเป็นที่น่าทึ่งเกี่ยวกับชีวิตเทรดเดอร์คนนี้ โดยวิธีการเทรดที่บ้าบิ่น แต่แฝงด้วยความฉลาดอย่างหลักแหลม เรามาดูคำพูดที่สำคัญๆ ในหนังสือเล่มนี้กัน
  • ใครที่คิดว่าจะเทรดให้ได้เงินกลับบ้านทุกวัน เหมือนกับการทำงาน เป็นคนที่ไม่เข้าใจเงื่อนไงของตลาด
  • ไม่จำเป็นต้องเทรดบ่อย รอให้เป็น
  • ควรรู้ว่าสิ่งอะไรไม่ควรทำ นี่เหละเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • ถ้าไม่มีความศรัทธาในการตัดสินใจที่ทำไป คุณจะไปได้ไม่ไกล
  • นักเก็งกำไรที่ดีต้องมีความมั่นใจในการตัดสินใจ
  • แม้อาจจะพลาดบ้างบางครั้ง แต่ครั้งที่พลาดอยู่น้อยก็ได้บทเรียน
  • เมื่อครั้งที่ผิด เขามั่นใจได้เลยว่ามันเป็นความผิดจากเขา ไม่ใช่เกิดจากตลาด
  • ราคาหุ้นไม่เคยที่จะมีคำว่าสูงเกินไปที่จะซื้อ หรือต่ำเกินไปที่จะขาย

Livermore กล่าวว่าการแพ้นั้นสามารถสอนคุณได้หลายอย่าง การค่าจ่ายที่เสียไปกับการเทรดแพ้นั้น ถือว่าเป็นค่าเรียนที่คุ้มที่สุด อีกทั้งการเชื่อมั่นใจระบบการเทรดที่ใช้อยู่นั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ควรระวังว่าเป็นความมั่นใจหรือเป็นความหยิ่งยโสกันแน่
จริงๆแล้วหนังสือเล่มนี้ให้แนวคิดที่ดี โดย Jesse Livermore เป็นเหมือนตำนานเทรดเดอร์ที่หลายคนกล่าวถึง แต่ถ้าอยากได้วิธีการเทรดอย่างแท้จริงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง แนะนำให้อ่าน Pitbull ของ Marty Schwarz มากกว่า

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

แผนการเทรด – สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องมี

แผนการเทรด – สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องมี

การที่จะออกรบก็ควรมีการวางแผนไว้ก่อน เพื่อรับมือสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เราสามารถเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เราเตรียมมา อาจทำให้การตัดสินใจของเราผิดพลาดไปได้ ดังเช่นในการเทรด เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ผู้คนในตลาดต่างพากันตกใจ แต่เทรดเดอร์ที่วางแผนรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว จะไม่ตกอยู่ในอารมณ์นั้น
ประโยชน์
  • เทรดเดอร์มือใหม่มักจะเปิดกราฟสลับไปสลับมา เปลี่ยน Time-frames ไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัวว่าตัวเองต้องการอะไรกันแน่ เทรดเดอร์มืออาชีพจะรู้อย่างแน่ชัดเลยว่า เขาดูอะไรอยู่ และเขาจะทำอย่างไรกับมัน เทรดเดอร์ที่มีแผนอย่างชัดเจนเพียงแค่รอระดับราคาลงมาถึงจุดดังกล่าว แล้วก็ซื้อ/ขายมัน ไม่ต้องไปนั่งพลิกกราฟไปมา
  • เป็นการฝึกการตัดสินใจ เมื่อราคาวิ่งผิดทางแล้วเกิดการขาดทุน เทรดเดอร์ส่วนมากมักไม่ค่อยอยาก Cut loss หวังว่าราคาจะกลับขึ้นไปใหม่ โดยไม่ได้คำนึงถึงระดับราคาที่เปลี่ยนพฤติกรรมออกไป การวางแผนการเทรดจะเป็นตัวช่วยในการตัดอารมณ์ดังกล่าวออกไป ฝึกให้เราตัดสินใจตามแผนที่วางแผน ไม่ใช้อารมณ์ในการเทรด

วิธีการวางแผนการเทรด
  • การวางแผนการเทรดที่ดีควรอยู่ในช่วงที่ตลาดปิด ไม่มีแรงกดดันจากการเคลื่อนไหวของราคา แนะนำช่วงสุดสัปดาห์ เสาร์ หรือ อาทิตย์ เพียงแค่เขียนแผนการเทรดสำหรับอาทิตย์ที่จะถึง ฟังดูอาจต้องใช้ความพยายามเยอะ แต่ถ้าลองทำดูจริงๆแล้วจะเห็นประโยชน์ของมันอย่างยิ่ง และเมื่อคล่องตัวแล้วจะรู้สึกว่าไม่ได้ใช้ความพยายามอะไรเลย
  • คอย Update การเทรดทุกสิ้นวัน ในระหว่างสัปดาห์นั้น เพื่อทบทวนว่าคุณได้ทำตามแผนการเทรดของคุณหรือไม่
  • นำแผนการเทรดดังกล่าวไว้ที่โต๊ะเทรด เพื่อที่จะให้เป็นตัวสังเกตได้ง่าย เป็นตัวคอยเตือนเราตลอดเวลาว่า ให้ทำตามแผนการเทรดที่วางไว้
  • และเมื่อจบสัปดาห์ ให้ทบทวนการเทรดตลอดสัปดาห์ ประเมินสิ่งที่เกิดขึ้น
ส่วนประกอบของแผนการเทรด
  • ข้อมูลทั่วไป : วันที่ , ประเภท Set up เป็นต้น
  • เหตุการณ์สำคัญ : ควร Check เหตุการณ์สำคัญๆ ต่างที่จะเกิดขึ้น เพราะอาจทำให้ราคาผันผวนในช่วงการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
  • ข้อสังเกตทั่วไป : อาจเขียนโน๊ตภาพรวมตลาด หรือความคิดของคุณ ต่างๆ ลงไปไว้เผื่อเป็นไอเดียในการเทรดในอนาคต
  • พฤติกรรมราคา : คอยสังเกตพฤติกรรมราคาที่เกิดขึ้น หาจุดแนวรับแนวต้านสำคัญ
  • เครื่องมือต่างๆ : ใส่ข้อสังเกตของเครื่องมือที่ใช้
  • What-if analysis : จำลองเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ให้ครอบคลุมการการเคลื่อนไหวทั้งหมด (ขึ้น , ลง , Sideway)
  • การเทรด : หาจุดเข้าออกที่ชัดเจน และบอกเหตุผลว่าทำไมถึงเข้า ทำไมถึงตั้ง Stop loss ทำไมถึงให้จุดทำกำไรในจุดดังกล่าว
  • Screenshot : บันทึกกราฟในการเทรดของเราไว้ เพื่อไว้ทบทวนผลการเทรดที่เกิดขึ้น

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการเทรด

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการเทรด

หนังสือที่จะแนะนำต่อไปนี้ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเจ้าของหรือสำนักพิมพ์ใดๆเลย เป็นหนังสือที่อยากแนะนำให้เพื่อนๆเทรดเดอร์ได้อ่าน เป็นหนังสือที่คุ้มค่ากับเวลาที่ใช้อ่าน เกี่ยวกับแนวคิด วิธีการเทรด หลักการเทรด และวิถีชีวิตของเทรดเดอร์ อีกทั้งยังมีรายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับการพัฒนาตัวเอง เพื่อปรับทัศนะคติในการใช้ชีวิตประจำวันของเราให้ดีขึ้นอีกด้วย
Trading in the Zone : Master the Market with Confidence , Discipline and a Winning Attitude
หลายครั้งที่เทรดเดอร์มืออาชีพบอกว่า การเทรดให้ประสบคำสำเร็จนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการสักเท่าไร่ แต่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และจิตวิทยาในการเทรดมากกว่า ซึ่งการควบคุมอารมณ์และหลักจิตวิทยาในการเทรดเป็นประเด็นสำคัญของหนังสือเล่มนี้เลย
Hedge Fund Market Wizards : How Winning Trader Win
เป็นหนังสือที่นำบทสัมภาษณ์ของเหล่าเทรดเดอร์และ Hedge fund managers ที่ประสบความสำเร็จในวงการนี้มาแชร์ไอเดียและอธิบายถึงที่มาของกำไรที่เขาได้ อีกทั้งสิ่งที่ช่วยเขาให้ประสบความสำเร็จถึงขั้นนี้
A Random Walk Down Wall Street : The Time-Tested Strategy for Successful Investing
Burton Malkiel ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง ภาวะฟองสบู่ , การเงินเชิงพฤติกรรม , ความคิดของคนส่วนใหญ่ในการลงทุน ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะทำให้เราเข้าใจว่าอะไรเป็นสิ่งที่คอยขับเคลื่อนราคาในตลาด โดยไอเดียและหลักการคิดจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับหนังสือการเงินเล่มอื่นๆ
Pit Bull : Lessons from Wall street’s Champion Day Trader
ตำนานของเทรดเดอร์ที่ชื่อว่า Marty Schwartz ที่สร้างกำไรอย่างมหาสารใน Wall Street จนได้รับฉายาว่า “Pit Bull” เป็นเรื่องเล่าของคนๆนี้จะเป็นแรงบรรดาลใจให้เทรดเดอร์เดินทางในสายอาชีพนี้
Come Into My Trading Room : A Complete Guide to Trading
Alexander Elder อีกหนึ่งตำนานของเทรดเดอร์มืออาชีพ โดยเขาจะเน้นไปที่ Mindset ของเทรดเดอร์ , หลัก Money management และการพัฒนากลยุทธ์ของการเทรดเดอร์ที่ใช้ อีกทั้งความสำคัญของวินัยในอาชีพเทรดเดอร์ที่จะแยกระหว่างผู้แพ้กับผู้ชนะออกจากกัน Elder ได้บอกว่า Technical Analysis ไม่ได้เป็นตัวช่วยสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน แต่ Mindset ของเทรดเดอร์นั้นสามารถช่วยเทรดเดอร์ทุกคนได้
The Intelligent Invertor : The Definitive Book on Value Investing. A Book of Practical Counsel
ถือว่าเป็นคำภีร์ของนักลงทุนสาย VI (Value investing) ผู้เขียนโดย Benjamin Graham มือขวาของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกอย่าง Warren Buffett อาจจะไม่ใช่หนังสือที่เหมาะกับเทรดเดอร์อย่างเราๆ แต่หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเข้าถึงอีกมุมหนึ่งของโลกแห่งการเงินการลงทุนมากขึ้น
The Big Short : Inside the Doomsday Machine
เป็นเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นจริงจากความโลภของกลุ่มแบงค์และสถาบันการเงินต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ฟองสบู่นี้เกิดขึ้น โดยมีกลุ่มเทรดเดอร์เพียงไม่กี่กลุ่มที่สามารถทำกำไรจากเหตุการณ์นี้ได้ แม้หนังสือเล่มนี้จะไม่ได้เป็นตัวบอกวิธีการเทรด แต่จะเป็นตัวบ่งชี้ให้เทรดเดอร์เห็นว่ามันมี Gap ของความไม่ถูกต้องในโลกแห่งการเงิน และคุณควรตระหนักถึงสิ่งนี้เพื่อที่จะทำกำไรจากมัน
The PlayBook: An Inside Look at How to Think Like a Professional Trader
Mike Bellafiore ผู้ก่อตั้ง SMB Capital เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่เทรดเดอร์ที่ใช้ชื่อ Website ว่า http://www.smbtraining.com/ เขาได้พูดถึงการก้าวข้ามมาเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพที่ต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากยากมากกว่าจะขึ้นมาอยู่ในจุดๆนี้ ไม่เหมือนกับหนังสือเทรดทั่วไปที่บอกว่าจะเทรดเป็นเรื่องง่าย
Against the Gods : The Remarkable Story of Risk
หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงหลักความน่าจะเป็น ความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่นในเกมส์การโยนลูกเต๋า เข้าใจถึงเหตุการณ์ทีต้องเผชิญในทางคณิตศาสตร์
Gambling Wizards : Conversations with the World’s Greatest Gamblers
นักพนันกับเทรดเดอร์เป็นอาชีพที่มีความคล้ายกันอย่างมาก โดยเฉพาะ Mindset , หลักจิตวิทยา และวินัยที่ต้องมีเหมือนกัน แตกต่างกันแค่วิธีการ ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะรวบรวมนักพนันที่ประสบความสำเร็จทั้ง Poker , Blackjeack หรือการพนันต่างๆอีกมากมาย ซึ่งเบื้องหลังความประสบความสำเร็จจากการพนันของคนเหล่านั้นบอกได้เลยว่าไม่ได้มาจากดวง แต่มาจากความตั้งใจ

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

แนะนำ Website การเทรด

แนะนำ Website การเทรด

ในยุด Internet สามารถช่วยให้เทรดเดอร์เข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายและรวดเร็ว มีหลาย Website ที่ให้ข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านพื้นฐาน เศรษฐกิจ รวมถึงกราฟเทคนิคคอล ให้กับเทรดเดอร์ไว้ประกอบการตัดสินใจ

#Tradingview : สำหรับคอเทคนิคเลยครับ สามารถดูกราฟต่างๆได้เกือบทั่วโลก ทั้ง Stock , indices , Forex , futures , CFDs , Bitcoins และอีกทั้งข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆอีกมากมาย มีเครื่องมือในทางเทคนิคอย่างมากมาย พร้อมกับหน้าตาที่สวยงาม รับรองต้องหลงรัก Website นี้เลยครับ แม้เราจะมี platform การเทรดของทางโบรกเกอร์อยู่แล้ว Website นี้สามารถเปิดประกอบการเทรดของเราด้วยได้เช่นกัน

#Stockscharts : อีกหนึ่ง Website ที่ไว้ดูกราฟทางเทคนิค สามารถแสดงกราฟทั้งในรูปแบบ Point and figure , Renko , Ichimoku และอื่นๆอีกมากมาย Design อาจสู้ Tradingview ไม่ได้ แต่คุณสมบัตินั้นสูสีกันแน่นอน

#finviz : อันนี้จะเหมาะสำหรับสแกนหาหุ้นในตลาดอเมริกาซะมากกว่า ทั้งข้อมูลทาง Fundamental และ Technical ไว้เผื่อใครเล่นหุ้นในตลาดอเมริกาแนะนำเลยครับ Website นี้ แต่ก็มียังข้อมูล Forex ไว้ดูคร่าวๆ ดังตัวอย่างครับ

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

เทรดตามรายใหญ่

เทรดตามรายใหญ่

เทรดเดอร์บางคนเป็นลักษณะ Purely technical คือดูแต่กราฟอย่างเดียว โดยไม่สนใจข้อมูลทางพื้นฐานเลยสักนิด ซึ่งการละเลยข้อมูลทางพื้นฐานที่สำคัญอาจทำให้เทรดเดอร์พลาดโอกาสสำคัญๆอย่างยิ่งออกไป เพราะตัวขับเคลื่อนราคาจริงๆแล้วนั้นมาจากปัจจัยทางพื้นฐานเป็นหลักอยู่แล้ว
 COT – Commitment traders : หลายงานตัวเลขการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าของนักลงทุนแต่ละประเภท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1. Commercial 2. Non-commercial และ 3. Other ดยส่วนที่เทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญเลยคือ Non-commercial เนื่องจากกลุ่มนี้จะประกอบด้วย พวกรายใหญ่ , Hedge funds , Banks ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะเก็งกำไรในทิศทางมากกว่าที่จะ Hedge สินค้า (Commercial มักเป็นผู้ผลิตสินค้า แล้วมา Hedge ราคาในตลาด Futures) ซึ่งการที่เราเทรดตามคนกลุ่มนี้มักมีโอกาสชนะมากกว่า (เล่นตามรายใหญ่) เนื่องจากเงินทุนของคนกลุ่มนี้ค่อนข้างมหาสาร สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนไหวราคาได้
จากกราฟข้างต้นจะเห็นได้ว่าพวก Non-commercial เริ่มสะสม Short (วงกลม) ราคาเริ่มอ่อนตัวลง มาต่อเนื่อง และยอด Net short ของพวกนี้ ก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดที่ราคาปรับตัวลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกสถาบันหรือรายใหญ่ต่างๆ มักคาดการณ์ทิศทางได้แม่นยำ และกินคำใหญ่ การเทรดตามคนเหล่านี้ก็เป็นอะไรที่ปลอดภัยไม่น้อยเลยทีเดียว

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

ควบคุมการเทรด

ควบคุมการเทรด       

ต้องบอกก่อนเลยว่าการเทรดไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องที่ใครก็ได้จะเข้ามาโดยไม่ศึกษาอะไรมาก่อนเลยแล้วจะมาดึงเงินออกจากตลาดนี้ การเป็นเทรดเดอร์ต้องมีความพยายามและความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเป็น โดยเทรดเดอร์ต้องเผชิญกับโลกแห่งเกมส์การเงินที่คนธรรมดานั้นอาจต่อสู้ไม่ได้ การเคลื่อนไหวของตลาดจะเป็นตัวฉุดลากอารมณ์ของเทรดเดอร์ และสามารถนำพาไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
สิ่งเดียวที่จะสามารถทำให้เทรดเดอร์ไม่ตกอยู่ในอารมณ์ของตลาดคือ เทรดเดอร์ต้องวางแผนก่อนการเทรด เพื่อที่จะรับมือกับที่ไม่คาดคิดในอนาคตที่จะเกิดขึ้น โดยเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสามารถจัดการสิ่งต่างๆในปัจจุบันเพื่อรับมือกับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น

#Trading Plan : การเขียนแผนการเทรดจะเป็นตัวชี้ทางในการเทรดของเราว่าจะไปในทิศทางไหน ทำให้การเทรดไม่สะเปะสะปะ สร้างวินัยในการเทรดของเทรดเดอร์ได้อย่างดียิ่ง และช่วยให้หลีกเลี่ยงการตัดสินใจการผิดพลาดได้เนื่องจากมีการเตรียมตัวการก่อนเทรด
สิ่งที่ระบุใน Trading Plan
- ข้อมูลทั่วไป เช่น วันที่จะเทรด , เครื่องมือที่ใช้ , Setups ต่างๆ
- พฤติกรรมราคาของสินค้าที่สนใจ
- เงื่อนไขในการเข้า / ออก
- สรุปผลการเทรด
#Watch list จะคล้ายๆ Trading plan แต่จะลงรายละเอียดของสินค้าแต่ละตัวที่จะเทรดนั้นว่าตอนนี้พร้อมที่จะเข้าเทรดหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราพลาดการเทรดดังกล่าว
สิ่งที่ระบุใน Watch list
- รายชื่อสินค้าที่สนใจ พร้อมกับระบุว่า ระดับที่พร้อมจะเข้าเทรดว่าอยู่ในระดับใด
#Check list : เหมือนกับนักบินที่ก่อนจะนำเครื่องบินบินขึ้น ต้องตรวจสอบ Check list ก่อนทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบดูว่าเครื่องบินนั้นพร้อมที่จะบินหรือเปล่า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการบินนั้นจะปลอดภัย และไม่มองข้ามจุดเล็กๆน้อยๆ
สิ่งที่ระบุใน Check list
- สิ่งที่จะเทรดครบเงื่อนไขของเราหรือไม่
- สิ่งที่จะเทรดอยู่ในแผนของเราหรือไม่
- มีประกาศอะไรสำคัญหรือไม่
- Risk reward ratio เหมาะหรือไม่
- รู้สึกกังวลกับการเทรดครั้งนี้หรือไม่
- รับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่
#Emotions sheet : ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวทำให้เทรดเดอร์พ่ายแพ้กับการเทรดก็คือ “อารมณ์” เทรดเดอร์หลายคนมีวิธีการเทรดที่ดี แต่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในการเทรดได้ สุดท้ายทำให้พ่ายแพ้ต่อการเทรด การรู้ว่าอารมณ์ตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ผิดพลาดออกไปได้
สิ่งที่ระบุใน Emotions sheet
- การตัดสินใจที่เกิดขึ้น พร้อมกับอารมณ์ ณ ขณะนั้น และวิธีแก้ไข
ข้อผิดพลาดในการเทรดภาวะอารมณ์วิธีการแก้ไข
ไม่เปิดออเดอร์ แม้จะเข้าเงื่อนไขของสัญญาทั้งหมดกลัวทำ Checklist ให้ชัดเจน , ลด Size การเทรดให้น้อยลง
ปิดทำกำไรเร็วเกินไป โดยไม่มีเหตุผลกลัว , โลภปิดการโชว์กำไรขาดทุน , เชื่อมั่นในแผนการที่วางไว้
ขยาย Stoploss หรือ ไม่ตัดขาดทุนกลัว , หวังปิดกราฟหลังจากที่เปิดออเดอร์ , ไม่ดูกำไรขาดทุน
ลืมดูข่าวหรือประกาศสำคัญขาดความระมัดวัง , เบื่อตรวจสอบปฏิทินข่าวก่อนเทรดทุกครั้ง
สั่งคำสั่งผิด เช่น ซื้อเป็นขาย หรือ ขนาดออเดอร์ผิด เป็นต้นขาดความระมัดวัง , เบื่ออย่าทำอย่างอื่นขณะเทรด , ทบทวนคำสั่งก่อนเทรดอย่างน้อย 1 รอบ
ให้น้ำหนักการเทรดต่อ 1 ออเดอร์มากเกินไปโลภจัดการความเสี่ยงให้เป็นระบบมาตรฐานให้ชัดเจนไปเลย
ขยายจุดทำกำไรออกไป เนื่องจากคิดว่าราคาจะไปต่อโลภปิดกราฟหลังจากที่เปิดออเดอร์ , ไม่ดูกำไรขาดทุน
เข้าเทรดเร็วเกินไป โดยที่ยังไม่ครบเงื่อนไขโลภ , หวังทำ Checklist ไว้ย้ำเตือน
รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพื่อหวังไม้ที่ขาดทุนจะกลับมากำไรหวังจัดการความเสี่ยงให้เป็นระบบมาตรฐานให้ชัดเจนไปเลย
#Math Sheet : การเทรดเกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักคณิตศาสตร์ เพราะต้องมีการคำนวณกำไร/ขายทุน อีกทั้งความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เทรดเดอร์ทุกคนควรตระหนักถึงเรื่องนี้ เพราะจะได้ทราบว่าคุณควรจะเปิดขนาดออเดอร์เท่าไร่ถึงจะเหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ หรือโอกาสที่จะชนะหรือแพ้ติดต่อกันนั้นเป็นเท่าไร่ เพื่อบริหารพอร์ตการลงทุนของคุณให้อยู่รอดได้
สิ่งที่ระบุใน Math Sheet
- Risk reward ratio
- Drawdown / recovery rate
- ค่าความคาดหวัง
- โอกาสการชนะ/แพ้ ติดต่อกัน


ทีมงาน : forexinvestingthai.com

ข่าวและข้อมูลเชิงพื้นฐาน

ข่าวและข้อมูลเชิงพื้นฐาน

เทรดเดอร์สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 สายหลักๆ คือ Fundamental และ Technical เทรดเดอร์ส่วนมากมักนิยมสาย Technical ซะมากกว่า เนื่องจากการวิเคราะห์นั้นง่ายกว่า ไม่ลึกเท่า Fundamental ที่ดูแล้วข้อมูลซับซ้อนและจับต้องยาก แต่อย่างไรก็เราไม่ควรแยกระหว่าง Fundamental หรือ Technical ควรนำข้อมูล 2 อย่างนี้มาใช้ประโยชน์ในการเทรดให้มากที่สุด และอีกหนึ่งอย่างเลยคือ “ข่าว” หรือประกาศสำคัญๆที่ส่งผลกระทบต่อราคา เทรดเดอร์ควรต้องตระหนักถึงประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน เพราะข่าวจะเป็นตัวที่ทำให้ราคาเกิดความผันผวนเกิดขึ้น ทำให้ราคาเคลื่อนไหวสามารถใช้จังหวะนี้ในการเทรด และข่าวที่มีความสำคัญอย่างมาก จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางราคาในภาพหลักได้เช่นกัน
ข่าวและตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
Building permits : จำนวนใบอนุญาตก่อสร้างบ้านหลังใหม่ เป็นตัวชี้นำเศรษฐกิจ (leading indicator) เนื่องจากว่าถ้าหากจำนวนใบอนุญาตก่อสร้างบ้านหลังใหม่เพิ่มมากขึ้นเป็นการส่อให้เห็นถึงปริมาณอุปสงค์ของการก่อสร้าง , วัสดุ , แรงงาน ที่เพิ่มมากขึ้น
... ถ้าหากตัวเลขที่แท้จริงออกมาสูงกว่าคาด หมายความว่าตลาด Bullish …
Consumer sentiment : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคว่ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ถ้าความเชื่อมั่นเป็นบวก และมีค่าสูง สามารถบ่งชี้ได้ถึงการใช้จ่ายในอนาคตจะมีมากขึ้น ส่งผลให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะเติบโตมากขึ้น
... ถ้าหากตัวเลขที่แท้จริงออกมาสูงกว่าคาด หมายความว่าตลาด Bullish …
COT – Commitment of traders report : การรายงานตัวเลข Long , short position และ Open interest ของการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าในตลาดต่างๆ โดยได้แบ่งประเภทนักลงทุนออกเป็น 3 ประเภท 1. Commercial (พวกที่ผลิตสินค้าจริงๆ) 2. Non-commercial (พวกรายใหญ่ , แบงค์ , Hedge funds และ 3. Other Invertor groups ปกติมักจะดู Non-commercial เป็นหลัก เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีเงินทุนค่อนข้างมาก (เล่นตามรายใหญ่) เพราะพวก Commercial มักจะใช้ตลาด Future มาเพียงแค่ Hedge ไม่ได้เป็นการเก็งกำไร
CPI – Consumer price index : ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยราคาของผู้บริโภคจากสินค้าและบริการต่างๆ เป็น CPI นั้นถือว่าใช้แทนการวัดอัตราเงินเฟ้อได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำไปประเมินการตัดสินการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยทั่วไป ถ้า CPI มากกว่าที่คาดการณ์ มักจะทำให้โอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมามากขึ้น ส่งผล Bullish ต่อค่าเงิน

Existing home sales : ยอดขายบ้าน จำนวนและราคาบ้านที่ถูกขายในช่วงเวลาหนึ่ง ในช่วงที่หลังจากผ่านภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ยอดขายบ้านจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และเป็นตัวประเมินถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีมากเพียงไร
Flash Manufacturing (ISM Manufacturing Index) : การสำรวจของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของอุตสาหกรรมการผลิต โดยเป็นการสำรวจกิจกรรมการธุรกิจ , การผลิต , การจ้างงาน , ราคา , การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจะเป็นคนที่รู้ข้อมูลเหล่านี้ดีที่สุด ดัชนีตัวนี้สามารถนำมาเป็นตัวชี้นำทางเศรษฐกิจ ถ้าตัวเลขการสำรวจออกมาเป็นบวกบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจค่อนข้างสดใส ตลาดก็จะเป็นลักษณะ Bullish
FOMC : การประชุม FOMC เป็นอะไรที่ติดตามอย่างยิ่ง ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของราคา เนื่องจากการประชุม FOMC จะเป็นการโหวตเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารเศรษฐกิจในสหรัฐ ผ่านทางเครื่องมือทางการเงินต่างๆ อาธิ การขึ้น/ลด ดอกเบี้ย เป็นต้น
Government bonds : พันธบัตรรัฐบาล สามารถเป็นตัวบ่งชี้ว่านักลงทุนในตอนนี้กลัวความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลนั้นถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดความเสี่ยง เมื่อที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลต่ำลง แสดงถึงนักลงทุนรับความเสี่ยงได้มาก จะไปลงสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูง เช่น หุ้น เป็นต้น ส่วนในช่วงที่นักลงทุนกลัวความเสี่ยง ราคาพันธบัตรก็จะต่ำ เพราะนักลงทุนขายสินค้าที่มีความเสี่ยงอย่างหุ้น มาเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยแทน
GDP – Gross domestic product : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ผลรวมสุดท้ายทั้งหมดของสินค้าและบริเวณที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ตัวเลข GDP เป็นตัววัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดที่สำคัญที่สุด
... ค่า GDP ที่เป็นบวก และมีค่าสูงขึ้น แสดงถึงภาวะ Bullish …
Housing starts : ตัวเลขการเริ่มก่อสร้างบ้าน การเติบโตของตัวเลขนี้จะบ่งชี้ถึงที่อยู่อาศัยที่กำลังจะถูกสร้างขึ้น ซึ่งสามารถเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ เมื่อเศรษฐกิจดี ผู้คนมีแนวโน้มที่จะซื้อบ้าน ส่งผลให้การเกิดจ้างงานเพิ่มมากขึ้น การใช้วัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น และเกิดการกู้ยืมทางการเงินมากขึ้นเช่นกัน
… ถ้าค่าเป็นบวก แสดงถึงภาวะ Bullish …
IFO Business Climate : เป็นการสำรวจผู้ผลิต , ผู้ก่อสร้าง , ผู้ค้าส่ง และค้าปลีก ในประเทศเยอรมัน ที่ตัวเลขนี้สำคัญเพราะว่า ประเทศเยอรมันผู้เป็นตัวแทนของ Eurozone เนื่องจากมีมูลค่าการค้าที่ใหญ่มาก สามารถนำตัวเลขเป็นตัวชี้นำทางเศรษฐกิจได้
… ค่าเป็นบวก แสดงถึงภาวะ Bullish …

Industrial Production : ผลผลิตภาพอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงถึงผลิตผลของอุสาหกรรม มักเป็นดัชนีที่ชี้นำเศรษฐกิจ เนื่องจากดัชนีนี้สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในขณะนั้นจริงๆ
NFP – Nonfarm payrolls : ตัวเลขที่จ่ายให้กับแรงงานในสหรัฐฯ แต่ไม่รวมแรงงานของรัฐบาลในภาคการเกษตร สามารถบ่งชี้ถึงการจ้างและอัตราว่างงานในสหรัฐฯได้ด้วยเช่นกัน
PPI – Producer price index : ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เป็นตัวค่าเฉลี่ยของราคาผู้ผลิตที่มาจากสินค้าและบริการต่างๆ โดย PPI นั้นจะคล้ายกับ CCI แต่ค่าการคำนวณมาจากฝั่งผู้ผลิตแทนที่จะเป็นฝั่งผู้บริโภค สามารถใช้เป็นตัวประเมินอัตราเงินเฟ้อได้เช่นกัน
Retail sales : ยอดค้าปลีก แสดงถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค ถ้ายอดค้าปลีกสูงขึ้นบ่งชี้ได้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงขึ้นเนื่องจากประชาชนใช้จ่ายมากกว่าที่จะออม เป็นตัวแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจได้เช่นกัน
Trade balance : ดุลการค้า เป็นการเปรียบตัวเลขนำเข้า กับ ส่งออก ถ้าดุลการค้าเป็นลบแสดงว่าการนำเข้าสินค้ามีมากกว่าการส่งออก (ขาดดุล) แต่ถ้าดุลการค้าเป็นบวก แสดงว่าการส่งออกมีมากกว่าการนำเข้า (เกินดุล)
เมื่อดุลการค้าเป็นดุลนั้นเป็นสัญญาณว่าความต้องการสกุลเงินในประเทศมีมากขึ้น เพราะมีผู้นำเข้าจากประเทศอื่นมาซื้อสินค้าในประเทศ อีกทั้งการส่งออกที่สูงขึ้นสามารถหมายความได้ว่าการจ้างงานในประเทศมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตามการที่ดุลการคั้นเป็นลบนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่ดีเสมอไป ในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง การนำเข้านั้นถือเป็นปัจจัยเร่งการเจริญเติบโตได้เช่นกัน การดูในแง่ดุลการค้าควรดูบริบทของสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้นด้วย มิฉะนั้นจะเกิดการตีความที่ผิดๆ

Unemployment claims : ตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงาน เป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงนั้นมีการว่างงานเท่าไร่ เนื่องจากจะเป็นตัวสะท้อนถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
… ตัวเลขสูง แสดงถึงภาวะ Bearish …
ZEW Survey – Economic Sentiment : ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เป็นสถาบันของประเทศในเยอรมันนีที่สอบถามนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในประเทศ ว่ามีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ซึ่งประเทศเยอรมันเป็นตัวสะท้อนภาพรวมของกลุ่มยูโรโซน
เราได้รู้ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ กันไปพอสมควรแล้ว ต่อไปมาดูช่องทางการดูตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ว่ามันประกาศที่ไหน และเวลาใด โดยปกติทั่วไปแล้วตัวเศรษฐกิจต่างๆ จะถูกประกาศจากแหล่งที่มาหลายแหล่งต่างแตกต่างกันออกไป แต่จะมี Website ที่รวบรวมข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ไว้ในที่เดียว Website เป็นที่นิยมของเทรดเดอร์นั้นได้แก่ http://www.forexfactory.com/ ที่จะคอยบอกว่าวันนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศใดประกาศบ้าง เวลาใด และมีความสำคัญมากน้อยต่อค่าเงินแค่ไหน

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

Risk on Risk off

เคยได้ศัพท์ 2 คำนี้กันไหมครับ ถ้าเทรดเดอร์คนไหนดูข่าวบ่อยๆ คงต้องได้ยินการบ้างเหละ เป็นศัพท์ทางการเงินที่มักพบบ่อยมาก เรามาดูความหมายของมันกันดีกว่า … Risk on / Risk off เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้โดยขึ้นอยู่กับสภาพตลาดและสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้น
   Risk on : เมื่อความเสี่ยงต่ำ หรือภาวะตลาดในช่วงนั้นค่อนข้างมั่นคง นักลงทุนก็จะรับความเสี่ยงได้มาก มักจะลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น เป็นต้น
Risk off : ในช่วงความเสี่ยงสูง หรือภาวะตลาดไม่มั่นคง มีความผันผวนสูง นักลงทุนก็จะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ความเสี่ยงน้อยๆ เช่น ถือเงินสด , พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น

แล้วมันเกี่ยวกับตลาด Forex อย่างไร
เมื่อเทรดเดอร์เข้าใจถึงภาวะอารมณ์ตลาดที่เกิดขึ้นก็จะสามารถรู้ถึงความเสี่ยงที่นักลงทุนในช่วงนั้นเป็นอย่างไร ในช่วง Risk-on นักลงทุนรู้สึกดีต่อภาวะเศรษฐกิจ มองภาพรวมตลาดเป็นบวก ดังนั้นมักจะเข้าซื้อหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และอีกทั้งก็จะมาลงทุนในค่าเงินที่ผลตอบแทนสูง (สกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง) และขายค่าเงินที่ผลตอบแทนต่ำกว่า หรือที่เรียกกันว่าเป็นการทำ Carry Trade ตัวอย่างเช่นในช่วง Risk-on สกุลเงิน AUD/USD มักแข็งค่าขึ้นเพราะนักลงทุนต้องการค่าเงิน AUD ที่ให้ผลตอบแทนสูง ส่วนในช่วง Risk-off ก็ตรงกันข้าม นักลงทุนมักหันไปถือค่าเงินที่ความเสี่ยงต่ำๆ เช่น JPY หรือ CHF เป็นต้น ทำให้ค่าเงินดังกล่าวแข็งค่าขึ้น

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

Bonds – การดูกระแสเงิน

Bonds – การดูกระแสเงิน

เทรดเดอร์ในตลาด Forex ส่วนมาก มักไม่ได้ให้ความสำคัญกับราคาพันธบัตรมากซะเท่าไร่ หรือจะบอกได้ว่าแทบไม่เคยดูด้วยซ้ำ นิ่งเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเทรดเดอร์ Forex คุณต้องให้ความสนใจกับราคาพันธบัตรเนื่องจากจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงกระแสเงินทุนได้อย่างดี
เมื่อความเสี่ยงในตลาดการเงินมีสูงขึ้น (ในแง่ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่น เศรษฐกิจไม่ดี , การเมือง , หรือสงคราม เป็นต้น) นักลงทุนก็มักจะหลักเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างตลาดหุ้น และย้ายเงินทุนดังกล่าวไปยังสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า อย่างค่าเงินสวิสฟรังค์ , ค่าเงินเยน และ “พันธบัตรรัฐบาล” (พันธบัตรรัฐบาลใช้แทนสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงในทางวิชาการ)
เรามาทำการเข้าใจก่อนว่า เมื่อราคาพันธบัตรรัฐบาล “สูงขึ้น” อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรัฐบาลก็จะ “ลดลง”
โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล และ ค่าเงิน มักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เมื่ออัตราผลตอบแทนสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักลงทุนให้หันมาลงทุนในพันธบัตรในประเทศนั้น ทำให้ค่าเงินในประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น ในทางกลับกัน เมื่ออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรลดลง ความน่าดึงดูดในการลงทุนก็น้อยลง ค่าเงินในประเทศนั้นมีแนวโน้มอ่อนค่าเนื่องจากไม่มีกระแสเงินทุนไหลเข้ามา
จากกราฟตัวอย่างข้างต้น BUND (พันธบัตรรัฐบาลของประเทศเยอรมนี) เส้นสีน้ำเงิน  และ EUR/USD เส้นสีส้ม ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อราคา BUND ขึ้น บ่งชี้ได้ว่า อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรจะลดลง ทำให้ความต้องการเงินในประเทศมีลดลง เป็นสัญญาณให้ค่าเงิน EUR อ่อนค่าลงในรอบถัดมา

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

พื้นฐาน กับ เทคนิค

พื้นฐาน กับ เทคนิค

เรามักจะแบ่งเทรดเดอร์ออกเป็น 2 ประเภท คือ พื้นฐาน กับ เทคนิค ซึ่งส่วนมากสองฝั่งนี้มักจะมีแนวคิดในการเทรดเดอร์ไม่ค่อยเหมือนกันสักเท่าไร่หนัก นักพื้นฐาน ก็จะดูพวกข้อมูลปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ตัวเลข GDP , อัตราเงินเฟ้อ , นโยบายการเงิน ต่างๆนานา ส่วนนักเทคนิคก็จะดูกราฟเป็นหลักที่ใช้ในการเทรด ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ถ้าหากเราเปิดใจไม่อคตินำข้อดีของแต่ละ 2 ฝ่ายนี้มาประกอบในการเทรด ก็จะเป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพการเทรดได้ดีขึ้น
ปัจจัยพื้นฐานนั้นต้องบอกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนราคาในระยะยาวอยู่แล้ว แต่ปัจจัยฐานพื้นฐานอาจไม่สะท้อนภาพการเคลื่อนไหวในช่วงสั้น เนื่องจากเกิดจะความผันผวนในระยะสั้นมาจากแรงเก็งกำไรกันมากกว่า ราคาไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ดังนั้นในภาพระยะยาวถ้าปัจจัยพื้นฐานเป็นเชิงบวก เราก็ควรเลือกที่จะเทรดอยู่ในฝั่ง Long แต่ถ้าภาพปัจจัยพื้นฐานเป็นลบ เราก็ควรรู้ฝั่ง Short ในการเทรด
อีกทั้งปัจจัยทางพื้นฐานสามารถนำมาเป็นเครื่องมือดูทิศทางตลาดของสินค้าที่เราเทรดอยู่ได้เช่นกัน เช่น ปกติอัตราการว่างงาน กับดัชนีตลาดหุ้น มักเคลื่อนไหวสวนทิศทางกัน แต่ถ้าเมื่อไร่ก็ตามที่ 2 ตัวนี้เคลื่อนไหวไปในทางเดียวกันก็จะเป็นสัญญาณผิดปกติเกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณอะไรบางอย่าง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราการว่างงาน และ ดัชนี S&P500

ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าเงิน EUR/USD กับ พันธบัตรรัฐบาล อายุ 30 ปี ของสหรัฐ

มีหนึ่งสิ่งที่อยากจะเตือนเทรดเดอร์ที่เล่นสั้น หรือ เดย์เทรด นั้นต้องระวังเวลาช่วงการประกาศข่าว หรือรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะในช่วงนั้นตลาดการเกิดความผันผวนอย่างมาก ราคาอาจแกว่งไปตอนจุด Stop loss ของเราได้ อย่างง่ายดาย เทรดเดอร์ควรหลีกเลี่ยงช่วงดังกล่าว เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องหลีกเหลี่ยงทุกข่าวหรือทุกตัวเลขเศรษฐกิจ เพียงแต่คอยตรวจสอบดูว่าช่วงที่สำคัญจริงๆ ที่จะส่งผลให้ราคาผันผวน ก็ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาดังกล่าว

เทรดเดอร์ที่เป็นนักเทคนิคอย่างเราๆ ไม่จำเป็นต้องรู้หลักพื้นฐานทั้งหมด แต่ขอแค่เข้าใจประเด็นสำคัญๆ ก็เพียงพอต่อการเทรดแล้ว

ทีมงาน : forexinvestingthai.com