วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ข่าวและข้อมูลเชิงพื้นฐาน

ข่าวและข้อมูลเชิงพื้นฐาน

เทรดเดอร์สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 สายหลักๆ คือ Fundamental และ Technical เทรดเดอร์ส่วนมากมักนิยมสาย Technical ซะมากกว่า เนื่องจากการวิเคราะห์นั้นง่ายกว่า ไม่ลึกเท่า Fundamental ที่ดูแล้วข้อมูลซับซ้อนและจับต้องยาก แต่อย่างไรก็เราไม่ควรแยกระหว่าง Fundamental หรือ Technical ควรนำข้อมูล 2 อย่างนี้มาใช้ประโยชน์ในการเทรดให้มากที่สุด และอีกหนึ่งอย่างเลยคือ “ข่าว” หรือประกาศสำคัญๆที่ส่งผลกระทบต่อราคา เทรดเดอร์ควรต้องตระหนักถึงประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน เพราะข่าวจะเป็นตัวที่ทำให้ราคาเกิดความผันผวนเกิดขึ้น ทำให้ราคาเคลื่อนไหวสามารถใช้จังหวะนี้ในการเทรด และข่าวที่มีความสำคัญอย่างมาก จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางราคาในภาพหลักได้เช่นกัน
ข่าวและตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
Building permits : จำนวนใบอนุญาตก่อสร้างบ้านหลังใหม่ เป็นตัวชี้นำเศรษฐกิจ (leading indicator) เนื่องจากว่าถ้าหากจำนวนใบอนุญาตก่อสร้างบ้านหลังใหม่เพิ่มมากขึ้นเป็นการส่อให้เห็นถึงปริมาณอุปสงค์ของการก่อสร้าง , วัสดุ , แรงงาน ที่เพิ่มมากขึ้น
... ถ้าหากตัวเลขที่แท้จริงออกมาสูงกว่าคาด หมายความว่าตลาด Bullish …
Consumer sentiment : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคว่ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ถ้าความเชื่อมั่นเป็นบวก และมีค่าสูง สามารถบ่งชี้ได้ถึงการใช้จ่ายในอนาคตจะมีมากขึ้น ส่งผลให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะเติบโตมากขึ้น
... ถ้าหากตัวเลขที่แท้จริงออกมาสูงกว่าคาด หมายความว่าตลาด Bullish …
COT – Commitment of traders report : การรายงานตัวเลข Long , short position และ Open interest ของการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าในตลาดต่างๆ โดยได้แบ่งประเภทนักลงทุนออกเป็น 3 ประเภท 1. Commercial (พวกที่ผลิตสินค้าจริงๆ) 2. Non-commercial (พวกรายใหญ่ , แบงค์ , Hedge funds และ 3. Other Invertor groups ปกติมักจะดู Non-commercial เป็นหลัก เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีเงินทุนค่อนข้างมาก (เล่นตามรายใหญ่) เพราะพวก Commercial มักจะใช้ตลาด Future มาเพียงแค่ Hedge ไม่ได้เป็นการเก็งกำไร
CPI – Consumer price index : ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยราคาของผู้บริโภคจากสินค้าและบริการต่างๆ เป็น CPI นั้นถือว่าใช้แทนการวัดอัตราเงินเฟ้อได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำไปประเมินการตัดสินการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยทั่วไป ถ้า CPI มากกว่าที่คาดการณ์ มักจะทำให้โอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมามากขึ้น ส่งผล Bullish ต่อค่าเงิน

Existing home sales : ยอดขายบ้าน จำนวนและราคาบ้านที่ถูกขายในช่วงเวลาหนึ่ง ในช่วงที่หลังจากผ่านภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ยอดขายบ้านจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และเป็นตัวประเมินถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีมากเพียงไร
Flash Manufacturing (ISM Manufacturing Index) : การสำรวจของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของอุตสาหกรรมการผลิต โดยเป็นการสำรวจกิจกรรมการธุรกิจ , การผลิต , การจ้างงาน , ราคา , การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจะเป็นคนที่รู้ข้อมูลเหล่านี้ดีที่สุด ดัชนีตัวนี้สามารถนำมาเป็นตัวชี้นำทางเศรษฐกิจ ถ้าตัวเลขการสำรวจออกมาเป็นบวกบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจค่อนข้างสดใส ตลาดก็จะเป็นลักษณะ Bullish
FOMC : การประชุม FOMC เป็นอะไรที่ติดตามอย่างยิ่ง ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของราคา เนื่องจากการประชุม FOMC จะเป็นการโหวตเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารเศรษฐกิจในสหรัฐ ผ่านทางเครื่องมือทางการเงินต่างๆ อาธิ การขึ้น/ลด ดอกเบี้ย เป็นต้น
Government bonds : พันธบัตรรัฐบาล สามารถเป็นตัวบ่งชี้ว่านักลงทุนในตอนนี้กลัวความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลนั้นถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดความเสี่ยง เมื่อที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลต่ำลง แสดงถึงนักลงทุนรับความเสี่ยงได้มาก จะไปลงสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูง เช่น หุ้น เป็นต้น ส่วนในช่วงที่นักลงทุนกลัวความเสี่ยง ราคาพันธบัตรก็จะต่ำ เพราะนักลงทุนขายสินค้าที่มีความเสี่ยงอย่างหุ้น มาเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยแทน
GDP – Gross domestic product : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ผลรวมสุดท้ายทั้งหมดของสินค้าและบริเวณที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ตัวเลข GDP เป็นตัววัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดที่สำคัญที่สุด
... ค่า GDP ที่เป็นบวก และมีค่าสูงขึ้น แสดงถึงภาวะ Bullish …
Housing starts : ตัวเลขการเริ่มก่อสร้างบ้าน การเติบโตของตัวเลขนี้จะบ่งชี้ถึงที่อยู่อาศัยที่กำลังจะถูกสร้างขึ้น ซึ่งสามารถเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ เมื่อเศรษฐกิจดี ผู้คนมีแนวโน้มที่จะซื้อบ้าน ส่งผลให้การเกิดจ้างงานเพิ่มมากขึ้น การใช้วัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น และเกิดการกู้ยืมทางการเงินมากขึ้นเช่นกัน
… ถ้าค่าเป็นบวก แสดงถึงภาวะ Bullish …
IFO Business Climate : เป็นการสำรวจผู้ผลิต , ผู้ก่อสร้าง , ผู้ค้าส่ง และค้าปลีก ในประเทศเยอรมัน ที่ตัวเลขนี้สำคัญเพราะว่า ประเทศเยอรมันผู้เป็นตัวแทนของ Eurozone เนื่องจากมีมูลค่าการค้าที่ใหญ่มาก สามารถนำตัวเลขเป็นตัวชี้นำทางเศรษฐกิจได้
… ค่าเป็นบวก แสดงถึงภาวะ Bullish …

Industrial Production : ผลผลิตภาพอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงถึงผลิตผลของอุสาหกรรม มักเป็นดัชนีที่ชี้นำเศรษฐกิจ เนื่องจากดัชนีนี้สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในขณะนั้นจริงๆ
NFP – Nonfarm payrolls : ตัวเลขที่จ่ายให้กับแรงงานในสหรัฐฯ แต่ไม่รวมแรงงานของรัฐบาลในภาคการเกษตร สามารถบ่งชี้ถึงการจ้างและอัตราว่างงานในสหรัฐฯได้ด้วยเช่นกัน
PPI – Producer price index : ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เป็นตัวค่าเฉลี่ยของราคาผู้ผลิตที่มาจากสินค้าและบริการต่างๆ โดย PPI นั้นจะคล้ายกับ CCI แต่ค่าการคำนวณมาจากฝั่งผู้ผลิตแทนที่จะเป็นฝั่งผู้บริโภค สามารถใช้เป็นตัวประเมินอัตราเงินเฟ้อได้เช่นกัน
Retail sales : ยอดค้าปลีก แสดงถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค ถ้ายอดค้าปลีกสูงขึ้นบ่งชี้ได้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงขึ้นเนื่องจากประชาชนใช้จ่ายมากกว่าที่จะออม เป็นตัวแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจได้เช่นกัน
Trade balance : ดุลการค้า เป็นการเปรียบตัวเลขนำเข้า กับ ส่งออก ถ้าดุลการค้าเป็นลบแสดงว่าการนำเข้าสินค้ามีมากกว่าการส่งออก (ขาดดุล) แต่ถ้าดุลการค้าเป็นบวก แสดงว่าการส่งออกมีมากกว่าการนำเข้า (เกินดุล)
เมื่อดุลการค้าเป็นดุลนั้นเป็นสัญญาณว่าความต้องการสกุลเงินในประเทศมีมากขึ้น เพราะมีผู้นำเข้าจากประเทศอื่นมาซื้อสินค้าในประเทศ อีกทั้งการส่งออกที่สูงขึ้นสามารถหมายความได้ว่าการจ้างงานในประเทศมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตามการที่ดุลการคั้นเป็นลบนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่ดีเสมอไป ในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง การนำเข้านั้นถือเป็นปัจจัยเร่งการเจริญเติบโตได้เช่นกัน การดูในแง่ดุลการค้าควรดูบริบทของสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้นด้วย มิฉะนั้นจะเกิดการตีความที่ผิดๆ

Unemployment claims : ตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงาน เป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงนั้นมีการว่างงานเท่าไร่ เนื่องจากจะเป็นตัวสะท้อนถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
… ตัวเลขสูง แสดงถึงภาวะ Bearish …
ZEW Survey – Economic Sentiment : ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เป็นสถาบันของประเทศในเยอรมันนีที่สอบถามนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในประเทศ ว่ามีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ซึ่งประเทศเยอรมันเป็นตัวสะท้อนภาพรวมของกลุ่มยูโรโซน
เราได้รู้ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ กันไปพอสมควรแล้ว ต่อไปมาดูช่องทางการดูตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ว่ามันประกาศที่ไหน และเวลาใด โดยปกติทั่วไปแล้วตัวเศรษฐกิจต่างๆ จะถูกประกาศจากแหล่งที่มาหลายแหล่งต่างแตกต่างกันออกไป แต่จะมี Website ที่รวบรวมข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ไว้ในที่เดียว Website เป็นที่นิยมของเทรดเดอร์นั้นได้แก่ http://www.forexfactory.com/ ที่จะคอยบอกว่าวันนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศใดประกาศบ้าง เวลาใด และมีความสำคัญมากน้อยต่อค่าเงินแค่ไหน

ทีมงาน : forexinvestingthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น